Konata Izumi - Lucky Star

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562


DIARY NO. 14
Monday 18 November 2019



Knowledge summar สรุปความรู้💦
         วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรม 2 กิจกรรม ที่มีความเชื่องโยงกัน

👉กิจกรรมที่ 1👈 ให้เต้นประกอบเพลงในลักษณะผู้นำผู้ตาม 
          🌱กติกาคือ ยืนเป็นวงกลม และมีผู้นำ 1 คน ยืนกลางวง เมื่อเพลงขึ้น สำหรับคนยืนเป็นวงกลมให้ย้ำเท้า ปรบมือตามจังหวะเพลง  สำหรับคนที่อยู่ในวง ให้เดินปรบมือไปรอบๆวง เมื่อเพลงขึ้นอีกจังหวะให้หาเพื่อน 1 คนแล้วหยุดทำท่า เพื่อนที่อยู่ตรงหน้าก็ทำท่าตามเพื่อน พอเพลงขึ้นอีกจังหวะให้ทั้งคู่กลับหลังหันจับไหล่เพื่อนแล้วเดินวงไปแล้วทำซ้ำไปเรื่อยๆ


🍀🍁🍀🍁🍀🍁🍀🍁🍀🍁🍀🍁


🍀🍁🍀🍁🍀🍁🍀🍁🍀🍁🍀🍁

👉กิจกรรมที่ 2👈 การเคาะจังหวะ โดยใช้อุปกรณ์ 
            🌱กติกา ให้นั่งเป็นวงกลม แล้ววางอุปกรณ์ไว้ข้างหน้า เริ่มจาก 
🌴เคาะที่ข้างหน้าตัวเอง 1 ที แล้ว วางข้างหน้าเพื่อนฝั่งขวามือของตัวเอง
🌴เคาะที่ข้างหน้าตัวเอง 1 ที แล้วเคาะที่ขาตัวเองฝั่งซ้ายแล้ววางข้างหน้าเพื่อนฝั่งขวา
🌴ให้หลับตาแล้ว เคาะที่ข้างหน้าตัวเอง 1 ที แล้วเคาะที่ขาตัวเองฝั่งซ้ายแล้ววางข้างหน้าเพื่อนฝั่งขวา
🌴เคาะที่ข้างหน้าตัวเอง 1 ที แล้ววางที่มือซ้ายของเพื่อนฝั่งขวา แล้วหยิบอุปกรณ์ด้วยมือขวาจากมือซ้ายที่ได้รับมาจากเพื่อน  
🌴ให้หลับตา เคาะที่ข้างหน้าตัวเอง 1 ที แล้ววางที่มือซ้ายของเพื่อนฝั่งขวา แล้วหยิบอุปกรณ์ด้วยมือขวาจากมือซ้ายที่ได้รับมาจากเพื่อน  


🍀🍁🍀🍁🍀🍁🍀🍁🍀🍁🍀🍁


🍀🍁🍀🍁🍀🍁🍀🍁🍀🍁🍀🍁


🍀🍁🍀🍁🍀🍁🍀🍁🍀🍁🍀🍁

🍄🍄จากกิจกรรมทั้งหมดนั้น สื่อได้ว่า 🍄🍄

🌳  การสอนแบบ EF  🌳

🌱 ทักษะพื้นฐาน
             1. จำนำไปใช้
             2.เลือกคิดไตร่ตรอง
             3. การยืดหยุ่น
🌱 การกำกับตนเอง
             1. ใส่ใจจดจ่อ
             2. ควบคุมอารมณ์
             3.ประเมินตนเอง
🌱 ทักษะการปฏิบัติ
             1. ริเริ่มลงมือทำ
             2. วางแผนจัดระบบ
             3. มุ่งเป้าหมาย
ประสบการณ์เดิมของเด็กที่ดี ต้องเป็นสิ่งที่ดีและนำมาใช้ได้
สิ่งทั้งหมดจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ให้ความสะดวก เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของเขา โดยต้องมีความเชื่อว่า เด็กสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ด้วยสื่อหรือการเล่นที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้

🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼

🌳  หลักสูตรไฮสโคป  🌳

💖วงล้อแห่งการเรียนรู้💖 เป็นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ ประสบการณ์ที่ริเริ่ม

🌵 1.พื้นที่สื่อ การเก็บ หรือ การจัดสิ่งแวดล้อม โดยจัดพื้นที่ในห้องเรียนเป็น 5 ส่วน เริ่มจาก
             1.1  พื้นที่ไว้ของส่วนตัว
             1.2 พื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมกลุ่มใหญ่ ย่อย
             1.3พื้นที่ตามมุม ในไฮสโคปมีมุมไม่ต่ำกว่า 5 มุม คือ
                          1.3.1 หนังสือ
                          1.3.2 บล็อก
                          1.3.3 ศิลปะ
                          1.3.4 ของเล่น
                          1.3.5 บทบาทสมมติ
             1.4 พื้นที่ครู
             1.5 พื้นที่ติดผลงานเด็ก
🌵 2. กลยุทธ์ปฏิสัมพันธ์การกระตุ้น ส่งเสริมแก้ปัญหา หรือ ปฏิสัมพันธระหว่างผู้ใหญ่กับเด็กเน้นปฏิสัมพันธ์ที่ดี
🌵 3. กลยุทธ์ปฏิสัมพันธ์การกระทำ ส่งเสริม แก้ปัญหา หรือ กิจวัตรประจำวัน
🌵 4. คณะทำงานบันทึกประจำวัน วางแผนกิจวัตรประจำวัน ประเมินพัฒนาการ

🍄  องค์ประกอบของไฮสโคป   🍄 
                  1.เปิดโอกาสให้เด็กเลือกและตัดสินใจ
                  2.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้หลากหลาย
                  3. พื้นที่เวลาและเวลา
                  4. เน้นให้เด็กใช้ประสาทสัมผัส
                  5. ภาษาจากเด็กเป็นสิ่งที่สะท้อนความคิดของเด็ก
                  6. ครูเป็นแค่ผู้ชี้แนะและรับฟัง

 🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻🌼🌻

Assessment การประเมินผล
     Self          : วันนี้ได้เข้าร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อน
     Friend     : เพื่อนๆช่วยกันนร่วมทำกิจกรรม
     Teacher  : มีการทบทวนความรู้เดิมให้แล้วสอดแทรกความรู้ใหม่เพิ่มเติมขึ้น





วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562


DIARY NO. 13
Monday 11 November 2019


Knowledge summar สรุปความรู้

          วันนี้มีกิจกรรมจัดสภาพแวดล้อมห้องเรียนของเรา

🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄

Assessment การประเมินผล
     Self          : วันนี้เข้าเรียนตรงเวลาร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อน สนุกมาก
     Friend     : เพื่อนๆช่วยกันนร่วมทำกิจกรรมได้ดี
     Teacher  : อาจารย์ก็สอดแทรกกิจกรรมและความรู้เพิ่มเติมอยู่เรื่อยๆ






DIARY NO. 13
Monday 4 November 2019


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก คณะรัฐมนตรีจะมีการประชุมสุดยอดอาเซียนเพื่อลดปัญหาการจราจรและอำนวยความสะดวก รัฐบาลจึงประกาศหยุดการเรียนการสอน


🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼


🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼




DIARY NO. 12
Monday 28 October 2019



Knowledge summar สรุปความรู้

             🌼วันนี้มีการจัดอบรบในหัวข้อ สารนิทัศน์ โดย ผู้ช่วยศาสตรจารย์ กรรณิการ์ สุสม🌼

     💦ก่อนเริ่มเข้าการอบรม อาจารย์จินตนา ได้แจกกระดาษคนละ 1 ใบ ให้เขียนว่า คนเป็นครูที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร และนำมาติดที่กระดานแล้วพูดแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

     💦ต่อมาวิทยากรได้เดินทางมาถึง ผศ.กรรณิการ์ แจกกระดาษคนละ 1 ใบ ให้เขียนเป้าหมายในการมาอบรมในวันนี้ เสร็จแล้วอาจารย์เริ่มกิจกรรมด้วยการออกกำลังกาย เพลง T26 เต้นเสร็จอาจารย์ให้ยกมือแสดงความคิดเห็นว่า กิจกรรมออกกำลังกาย ทำกิจกรรมเพื่ออะไร

✂เริ่มจาก…….✂

       🌟 ความหมายของสารนิทัศน์ 🌟
                   การเก็บหลักฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปพัฒนาครู หรือ ตัวเด็ก การจัดทำข้อมูลที่เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นร่องรอยของการเจริญเติบโต พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย จากการทำกิจกรรมทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ซึ่งหลักฐานและขอ้มูลดังกล่าวที่บันทึกไว้เป็นระยะ จะเป็นขอ้มูลที่บ่งบอกถึงพัฒนาการของเด็กทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์สังคม และสติปัญญา อีกทั้งยังสะท้อนถึงประสิทธิ์ภาพในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูด้วย

🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈

       🌟 คุณค่าของสารนิทัศน์ 🌟
                   นำไปสะท้อนความคิด และการวิเคราะห์ออกมาเพื่อประเมิน
👉การเรียนรู้ของเด็กสามารถสนองในการประกันคุณภาพสถานศึกษาได้
👉ครูที่จัดสารนิทัศน์มักจะสอนเด็กผ่านประสบการณ์ตรง (ประสบการณ์ตรงคือต้องให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการลงมือกระทำด้วยการเล่น)
👉ช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพ
👉ช่วยให้ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมกับพัฒนาการ 
        (กิจกรรมทำให้เกิดประสบการณ์ ดังนั้นประสบการณ์ใหญ่กว่ากิจกรรม) 
        (ศักยภาพคือความสามารถของเด็กที่เด็กแสดงออกมา ดังนั้นสมรรถภาพ คือ สิ่งที่เด็กทำได้)
👉ช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจพัฒนาการของเด็ก เพราะเราเก็บผลงานของเด็กไว้

✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨

       🌟 รูปแบบของสารนิทัศน์ 🌟
1.หลักฐานเกี่ยวกับตัวเด็ก คือ ภาพรวมทั้งชั้นเรียน หรือ บันทึกรายบุคคล
2.หลักฐานเกี่ยวกับตัวครู คือ แผนการสอน แผนผังสะท้อน การจัดป้าย

🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈

       🌟 กระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาครู 🌟
1.ประสบการณ์และปฏิบัติบุคคล
2.เก็บรวบรวมหลักฐาน
3.การทบทวนสะท้อนความคิดเพื่อวางแผนหรือปรับปรุง
4.การปฏิบัติที่สะท้อนความรู้ ความเข้าใจ หรือทบทวน

🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄

       🌟 กิจกรรมหลักของกระบวนการเรียนรู้ 🌟
1.เก็บรววบรวมหลักฐาน
2.สะท้อนความคิด
3.นำเสนอความก้าวหน้า
4.ประชุมกลุ่มหรือย่อย

🎉🎉🎉🎉🎉🎉🎉🎉🎉🎉

       🌟 ประเภทของสารนิทัศน์ 🌟
1.บทสรุปโครงการ
     1.1 หาหัวเรื่องที่เรียน
     1.2 วาดภาพเรื่องที่จะเรียน
     1.3 ครูต้องคำถาม
     1.4 พัฒนาโครงการ
     1.5 บทสรุป
2. การสังเกตพัฒนาการเด็ก (บันทึกสั้น)
3. พอทฟอริโอ้ ภาพถ่ายสะท้อนพัฒนการเด็ก
4.ผลงานเด็ก
     4.1 รายบุคคล วาดภาพ หรือ บันทึก
     4.2 รายกลุ่ม ภาพถ่าย
5.การสะท้อน
     5.1 ตนเอง
     5.2 ครู
     5.3 ผู้ปกครอง

🎆🎆🎆🎆🎆🎆🎆🎆🎆🎆
      
        🌟 บทบาทของครูที่จัดประสบการณ์ส่งเสริมความคิด 🌟
1. การใช้จิตวิทยา ยอมรับความคิดเห็น
2. คิดริเริ่มจัดกิจกรรม
3.ปฏิสัมพันธ์กับเด็ก ทำงานร่วมกัน กลุ่มย่อยหรือกลุ่มใหญ่
4. การใช้คำถามพื้นฐาน (ความคิด สังเกต ทบทวนความจำ บอกความหมาย บ่งชี้)
5. คำถามขยายความคิด (อธิบาย เปรียบเทียบ จำแนก ยกตัวอย่าง สรุป ประเมิน ตัดสินใจ)

👑👑👑👑👑👑👑👑👑👑
       
       🌟 ประเภทการคิด 🌟
1. คิดพื้นฐาน คือ การสื่อความหมาย ฟัง พูด อ่าน เขียน
2. คิดทั่วไป คือ การสังเกต
3. คิดระสู่ คือ การคิดวิเคราะห์
4.คิดสร้างสรรค์

💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐
      
 🌟 การเล่นบล็อก มีทั้งหมด 7 ขั้น 🌟
1. ขั้นสำรวจ ถือไปถือมา (สาม ขวบ)
2. ใช้บล็อกต่อแนวตั้งหรือแนวนอน (สามถึงสี่ ขวบ)
3. ต่อเป็นสะพาน (สี่ ขวบ)
4. ล้อมปิดกั้น
5. ต่อเป็นสมมาตร
6. สร้างสื่อต่างๆ
7. สร้างและเล่นขทขาทสมมติ (ห้าถึงหกปลาย)

🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀

       🌟 การใช้กรรไกร 🌟
1. ตัดทีละนิด (สองถึงสามปี)
2. ตัดขาด (สามปี)
3. ตัดตามแนวเส้น (สามถึงสี่ปี)
4. ตัดโค้งหรือซิกแซก (สี่ถึงห้าปี)
5. ตัดภาพได้ (ห้าถึงหกปี)

🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱

       🌟 ผังกราฟฟิก มี 6 ลักษณะ 🌟
1. ความคิดรวบยอด (Web diagrams)
2. แสดงความสัมพันธ์
     2.1 Venn diagrams
     2.2 T - Chart
3. เหตุผล (แมงมุม)
4.เสนอข้อมูลจัดลำดับ
     4.1 ลูกโซ่
     4.2 วัฎจักร
5. จัดกลุ่ม หรือ จำแนกประเภท
6. แผนภูมิต้นไม้

🌰🌰🌰🌰🌰🌰🌰🌰🌰🌰



💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖

Assessment การประเมินผล
     Self          : วันนี้เข้าเรียนตรงเวลาร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อน สนุกมาก
     Friend     : เพื่อนๆช่วยกันนร่วมทำกิจกรรมได้ดี
     Teacher  : ได้ความรู้ที่เพิ่มมากขึ้นและได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆและสามารถที่จะนำความรู้ปใช้ได้








DIARY NO. 11
Monday 21 October 2019



Knowledge summar สรุปความรู้
           วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมทั้งหมด 4 กิจกรรม ดังนี้
💦 กิจกรรมที่ 1 💦
              อาจารย์แจกแผนการจัดประสบการณ์ของรุ่นพี่ให้ดูเป็นตัวอย่าง และพูดคุยในแต่ละหัวข้อ แต่ละกิจกรรม โดยเริ่มจาก กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
🌈กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ🌈 มี 2 ส่วน คือ
          1.การเคลื่อนไหวพื้นฐาน เช่น กระโดด สไลด์ สคลิป  
          2.การเคลื่อนไหวสัมพันธ์เนื้อหา เช่น ตามเพลง ตามคำสั่ง ผู้นำผู้ตาม แบบข้อตกลง 
             แบบความจำ แบบบรรยาย
🌈กิจกรรมกลางแจ้ง🌈 เน้นเด็กมีส่วนร่วม เป้าหมายหลักคือ ร่างกายของเด็ก การใช้กล้ามเนื้อมัดต่างๆ การใช้เทคนิคการสอน ใช้วิธีสาธิต
มีวิธีการเล่น 3 แบบ คือ
          1 เล่นอิสระ คือ การเล่นเครื่องเล่นสนาม
          2 เกมผลัด คือ มีจุดเริ่มต้นและจุดวนกลับ  
          3 เกมเบ็ดเตล็ด คือ มีจุดเริ่มต้นแต่ไม่มีจุดวนกลับมา
🌈กิจกรรมเกมการศึกษา🌈 ใช้วิธีการสอนแบบ ลงมือกระทำ
การวิธีการจัดกิจกรรม ดังนี้
          การต่อจิ๊กซอว์
          โดมิโน
          การจับคู่ภาพ
          การเรียงลำดับ
          จัดหมวดหมู่ (จะจัดได้ต้องมีเกณฑ์ในการจัด)
          อนุกรม (เกิดการจัดเป็นชุดๆมีความต่อเนื่องกัน)
          อุปมาอุปไมย (เกี่ยวเนื่องกัน เช่น หมอ+คนไข้ , ตำรวจ+โจร)  
🌈กิจกรรมเสริมประสบการณ์🌈 เนื้อหาได้มาจากการวิเคราะห์หน่วยจากหลักสูตร ต้องสัมพันธ์กับสาระการเรียนรู้ ประสบการณ์สำคัญ สามารถบอกชื่อ นับบอกจำนวนได้ หรือ ได้เปรียบเทียบมากกว่า น้อยกว่า  เทคนิคการสอน ยกตัวอย่างเรื่องผลไม้
          1 การร้องเพลง หรือ นิทาน หรือ คำคล้องจอง เกี่ยวกับผลไม้
          2 สนทนาเกี่ยวกับเนื้อเพลง หรือ นิทาน หรือ คำคล้องจอง เกี่ยวกับผลไม้
          3 ย้อนความรู้เดิมที่เคยพบหรือเคยรู้จักผลไม้
          4สอนความรู้ใหม่  โดยนำผลไม้ที่มีออกมาเรียง (เรียงจาก ซ้าย ไป ขวา)
          5 นับ 1 2 3 4 …….
          6 นับเสร็จรวมว่าทั้งหมดมีเท่าไหร่ และอะไรบ้าง
          7 สรุปจากข้อที่ 4 ลงมาใหม่อีก1รอบ

🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼

💦 กิจกรรมที่ 2 💦 
              แบ่งกลุ่ม ช่วยกันวาดแหล่งน้ำที่รู้จัก และให้เพื่อนๆทาย
🌟กลุ่มของดิฉัน วาดแม่น้ำโขง สิ่งที่สังเกต คือ ธงชาติไทย กับ ธงชาติลาว และมีพญานาค



🌟ของเพื่อน กลุ่มที่ 1 วาดแม่น้ำไนล์ สิ่งที่สังเกตได้ คือ เกี่ยวกับประเทศอียิปต์ มีพีระมิด อูฐิ


🌟ของเพื่อน กลุ่มที่ 2 วาดเขื่อนขุนด่านปราการชล ที่จังหวัดนครนายก สิ่งที่สังเกตได้ คือ สร้างด้วย
                                    คอนกรีตยาวที่สุด



🌟ของกลุ่ม กลุ่มที่ 3 วาดทะเลแหวก จังหวัดกระบี่ สิ่งที่สังเกตได้ คือ ทะเลที่แหวกออกเป็น 3 ทาง



🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼

💦กิจกรรมที่ 3  💦
              อาจารย์ให้สร้างแท่งน้ำจากกระดาษหนังสือพิมพ์ โดยมีเกณฑ์ไม่ให้ต่ำกว่ากระดาษสีแดงของอาจารย์ และยังมีข้อจำกัด คือ กาวแลคซีนที่จำกัด และ ความทนของแท่งที่สร้างนั้น ต้องสามารถวาง พานได้ 1 พาน และ วางหนังสือได้อีก 8 เล่ม


🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼

💦 กิจกรรมที่ 4 💦
              อาจารย์ให้หลอดมา 10 หลอด และลูกปิงปอง 1 ลูก ให้ทำสไลด์ โดยข้อจำกัดคือ ต้องให้ลูกปิงปองกลิ้งได้ช้าที่สุด



🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼

       กิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำสอดคล้องกับการสอนแบบ STEM เพราะเป็นการบูรณาการกับทุกวิชา คือ
                 วิทยาศาสตร์ แรงโน้มถ่วง แรงเสียดทาน  น้ำกนัก
                 คณิตศาสตร์ มุม จำนวน ทิศทาง ความสูง ความเร็ว ระยะทาง
                 เทคโนโลยี การประยุกต์สิ่งของต่างๆ
                 วิศวกรรม การออกแบบ หรือ วางแผน

🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼

Assessment การประเมินผล
     Self          : วันนี้เข้าเรียนตรงเวลาร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อน สนุกมาก
     Friend     : เพื่อนๆช่วยกันนร่วมทำกิจกรรมได้ดี
     Teacher  : มีการสอดแทรกเกี่ยวกับข้อเพิ่มเติมในการสอน