Konata Izumi - Lucky Star

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562


DIARY NO. 12
Monday 28 October 2019



Knowledge summar สรุปความรู้

             🌼วันนี้มีการจัดอบรบในหัวข้อ สารนิทัศน์ โดย ผู้ช่วยศาสตรจารย์ กรรณิการ์ สุสม🌼

     💦ก่อนเริ่มเข้าการอบรม อาจารย์จินตนา ได้แจกกระดาษคนละ 1 ใบ ให้เขียนว่า คนเป็นครูที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร และนำมาติดที่กระดานแล้วพูดแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

     💦ต่อมาวิทยากรได้เดินทางมาถึง ผศ.กรรณิการ์ แจกกระดาษคนละ 1 ใบ ให้เขียนเป้าหมายในการมาอบรมในวันนี้ เสร็จแล้วอาจารย์เริ่มกิจกรรมด้วยการออกกำลังกาย เพลง T26 เต้นเสร็จอาจารย์ให้ยกมือแสดงความคิดเห็นว่า กิจกรรมออกกำลังกาย ทำกิจกรรมเพื่ออะไร

✂เริ่มจาก…….✂

       🌟 ความหมายของสารนิทัศน์ 🌟
                   การเก็บหลักฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปพัฒนาครู หรือ ตัวเด็ก การจัดทำข้อมูลที่เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นร่องรอยของการเจริญเติบโต พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย จากการทำกิจกรรมทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ซึ่งหลักฐานและขอ้มูลดังกล่าวที่บันทึกไว้เป็นระยะ จะเป็นขอ้มูลที่บ่งบอกถึงพัฒนาการของเด็กทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์สังคม และสติปัญญา อีกทั้งยังสะท้อนถึงประสิทธิ์ภาพในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูด้วย

🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈

       🌟 คุณค่าของสารนิทัศน์ 🌟
                   นำไปสะท้อนความคิด และการวิเคราะห์ออกมาเพื่อประเมิน
👉การเรียนรู้ของเด็กสามารถสนองในการประกันคุณภาพสถานศึกษาได้
👉ครูที่จัดสารนิทัศน์มักจะสอนเด็กผ่านประสบการณ์ตรง (ประสบการณ์ตรงคือต้องให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการลงมือกระทำด้วยการเล่น)
👉ช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพ
👉ช่วยให้ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมกับพัฒนาการ 
        (กิจกรรมทำให้เกิดประสบการณ์ ดังนั้นประสบการณ์ใหญ่กว่ากิจกรรม) 
        (ศักยภาพคือความสามารถของเด็กที่เด็กแสดงออกมา ดังนั้นสมรรถภาพ คือ สิ่งที่เด็กทำได้)
👉ช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจพัฒนาการของเด็ก เพราะเราเก็บผลงานของเด็กไว้

✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨

       🌟 รูปแบบของสารนิทัศน์ 🌟
1.หลักฐานเกี่ยวกับตัวเด็ก คือ ภาพรวมทั้งชั้นเรียน หรือ บันทึกรายบุคคล
2.หลักฐานเกี่ยวกับตัวครู คือ แผนการสอน แผนผังสะท้อน การจัดป้าย

🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈

       🌟 กระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาครู 🌟
1.ประสบการณ์และปฏิบัติบุคคล
2.เก็บรวบรวมหลักฐาน
3.การทบทวนสะท้อนความคิดเพื่อวางแผนหรือปรับปรุง
4.การปฏิบัติที่สะท้อนความรู้ ความเข้าใจ หรือทบทวน

🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄

       🌟 กิจกรรมหลักของกระบวนการเรียนรู้ 🌟
1.เก็บรววบรวมหลักฐาน
2.สะท้อนความคิด
3.นำเสนอความก้าวหน้า
4.ประชุมกลุ่มหรือย่อย

🎉🎉🎉🎉🎉🎉🎉🎉🎉🎉

       🌟 ประเภทของสารนิทัศน์ 🌟
1.บทสรุปโครงการ
     1.1 หาหัวเรื่องที่เรียน
     1.2 วาดภาพเรื่องที่จะเรียน
     1.3 ครูต้องคำถาม
     1.4 พัฒนาโครงการ
     1.5 บทสรุป
2. การสังเกตพัฒนาการเด็ก (บันทึกสั้น)
3. พอทฟอริโอ้ ภาพถ่ายสะท้อนพัฒนการเด็ก
4.ผลงานเด็ก
     4.1 รายบุคคล วาดภาพ หรือ บันทึก
     4.2 รายกลุ่ม ภาพถ่าย
5.การสะท้อน
     5.1 ตนเอง
     5.2 ครู
     5.3 ผู้ปกครอง

🎆🎆🎆🎆🎆🎆🎆🎆🎆🎆
      
        🌟 บทบาทของครูที่จัดประสบการณ์ส่งเสริมความคิด 🌟
1. การใช้จิตวิทยา ยอมรับความคิดเห็น
2. คิดริเริ่มจัดกิจกรรม
3.ปฏิสัมพันธ์กับเด็ก ทำงานร่วมกัน กลุ่มย่อยหรือกลุ่มใหญ่
4. การใช้คำถามพื้นฐาน (ความคิด สังเกต ทบทวนความจำ บอกความหมาย บ่งชี้)
5. คำถามขยายความคิด (อธิบาย เปรียบเทียบ จำแนก ยกตัวอย่าง สรุป ประเมิน ตัดสินใจ)

👑👑👑👑👑👑👑👑👑👑
       
       🌟 ประเภทการคิด 🌟
1. คิดพื้นฐาน คือ การสื่อความหมาย ฟัง พูด อ่าน เขียน
2. คิดทั่วไป คือ การสังเกต
3. คิดระสู่ คือ การคิดวิเคราะห์
4.คิดสร้างสรรค์

💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐
      
 🌟 การเล่นบล็อก มีทั้งหมด 7 ขั้น 🌟
1. ขั้นสำรวจ ถือไปถือมา (สาม ขวบ)
2. ใช้บล็อกต่อแนวตั้งหรือแนวนอน (สามถึงสี่ ขวบ)
3. ต่อเป็นสะพาน (สี่ ขวบ)
4. ล้อมปิดกั้น
5. ต่อเป็นสมมาตร
6. สร้างสื่อต่างๆ
7. สร้างและเล่นขทขาทสมมติ (ห้าถึงหกปลาย)

🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀

       🌟 การใช้กรรไกร 🌟
1. ตัดทีละนิด (สองถึงสามปี)
2. ตัดขาด (สามปี)
3. ตัดตามแนวเส้น (สามถึงสี่ปี)
4. ตัดโค้งหรือซิกแซก (สี่ถึงห้าปี)
5. ตัดภาพได้ (ห้าถึงหกปี)

🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱🌱

       🌟 ผังกราฟฟิก มี 6 ลักษณะ 🌟
1. ความคิดรวบยอด (Web diagrams)
2. แสดงความสัมพันธ์
     2.1 Venn diagrams
     2.2 T - Chart
3. เหตุผล (แมงมุม)
4.เสนอข้อมูลจัดลำดับ
     4.1 ลูกโซ่
     4.2 วัฎจักร
5. จัดกลุ่ม หรือ จำแนกประเภท
6. แผนภูมิต้นไม้

🌰🌰🌰🌰🌰🌰🌰🌰🌰🌰



💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖

Assessment การประเมินผล
     Self          : วันนี้เข้าเรียนตรงเวลาร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อน สนุกมาก
     Friend     : เพื่อนๆช่วยกันนร่วมทำกิจกรรมได้ดี
     Teacher  : ได้ความรู้ที่เพิ่มมากขึ้นและได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆและสามารถที่จะนำความรู้ปใช้ได้







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น