Konata Izumi - Lucky Star

วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562


DIARY NO. 10
Monday 14 October 2019


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก วันหยุดชดเชยเนื่องในวันคล้ายวันสรรคตรัชกาลที่ ๙






DIARY NO. 9
Monday 7 October 2019



Knowledge summar สรุปความรู้

       วันนี้อาจารย์ให้ทำ Mini Project แบ่งเป็น 5 คน โดยเลือกหัวข้อที่อยากเรียนจากสิ่งต่างๆรอบห้องเรียน

      🌴ระยะที่ 1🌴

    💦อยากเรียนรู้เรื่องอะไร❔
            🎈ลูกปลา : ไฟฟ้า
            🎈ปาย : กระเป๋า
            🎈นัส : โทรศัพท์
            🎈เบนซ์ : ปากกาเมจิก
            🎈กี้ : กระเป๋า



     👉สรุป อยากเรียนรู้เรื่อง กระเป๋า👜 เพราะ อยากรู้ขั้นตอนการทำ และ การผลิตกระเป๋า👜 และ อยากประดิษฐ์กระเป๋า👜เอง


    💦ประสบการณ์เดิม
            🎈ลูกปลา : พ่อซื้อกระเป๋า👜ให้ในวันเกิด
            🎈ปาย : ไปซื้อกระเป๋า👜ผ้าที่จตุจักร
            🎈นัส : ฉันลากกระเป๋า👜เข้าโรงแรม
            🎈เบนซ์ : เก็บกระเป๋า👜เงินได้
            🎈กี้ : สะพายกระเป๋า👜มามหาวิทยาลัย



               👉วาดภาพเกี่ยวกับประสบการณ์เดิม

🎈ลูกปลา🎈

🎈ปาย🎈

🎈นัส🎈


🎈เบนซ์🎈


🎈กี้🎈

    💦คำถามที่เด็กๆอยากรู้เกี่ยวกับ กระเป๋า👜
            🎈ลูกปลา : เราซื้อกระเป๋า👜ได้จากไหน
            🎈ปาย : กระเป๋า👜มีกี่แบบ
            🎈นัส : ขั้นตอนการทำกระเป๋า👜ทำอย่างไร
            🎈เบนซ์ : กระเป๋า👜มีสีอะไรบ้าง
            🎈กี้ : วัสดุที่ใช้ทำกระเป๋า👜มีอะไรบ้าง



      🌴ระยะที่ 2🌴

     👉หาคำตอบด้วยวิธีการ
     👉ไปห้องสมุดค้นหากระเป๋า👜
     👉ไปโรงงานทำกระเป๋า👜
     👉ไปเดินตลาด
     👉เดินห้างสรรพสินค้าโซนกระเป๋า👜
     👉หาวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับกระเป๋า👜
     👉สำรวจกระเป๋าที่เพื่อนใช้ในห้องเรียน
     👉หาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต





    💐💐 นำข้อมูลมาเขียนในรูปแบบกราฟฟิกต่างๆ💐💐








      🌴ระยะที่ 3🌴

   📷จัดนิทรรศการ และแบ่งหน้าที่ในการจัดทำ และทำสารนิทัศน์สะท้อนครู เด็ก ผู้ปกครอง


Assessment การประเมินผล

     Self          : วันนี้เข้าเรียนตรงเวลาร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อน
     Friend     : เพื่อนๆช่วยกันนร่วมทำกิจกรรม
     Teacher  : มีการสอดแทรกเกี่ยวกับข้อเพิ่มเติมในการสอน




DIARY NO. 8
Monday 30 Sptember 2019



วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก อยู่ในช่วงการสอบกลางภาค




🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀


DIARY NO. 7
Monday 23 Sptember 2019



Knowledge summar สรุปความรู้
วันนี้นำเสนอเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษาที่ได้รับมอบหมายในแต่ละกลุ่ม โดยวันนี้มีการนำเสนอ 5 กลุ่ม 
          👉กลุ่มที่ 5 นำเสนอนวัตกรรมแบบ EF ( Executive Functions) “เซคเช้า”
          👉กลุ่มที่ 5 นำเสนอนวัตกรรมแบบ EF ( Executive Functions) “เซคบ่าย”
          👉กลุ่มที่ 3 นำเสนอนวัตกรรมแบบ Project Approach “เซคบ่าย”
          👉กลุ่มที่ 4 นำเสนอนวัตกรรมแบบ STEM Science Technology Engineering
                                and Mathematics Educaation “เซคเช้า”
          👉กลุ่มที่ 6 นำเสนอนวัตกรรมแบบ มอนเตสเซอรี่ Montessori“เซคเช้า”

     💦กลุ่มที่ 5 นำเสนอนวัตกรรมแบบ EF ( Executive Functions) “เซคเช้า”💦

     เป็นกระบวนการทางความคิดในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับ ความคิด ความรู้สึก การกระทำ เป็นความสามารถของสมองที่ใช้บริหารจัดการในชีวิตเรื่องต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถตั้งเป้าหมายในชีวิต รู้จักวางแผน มีความมุ่งมั่น จดจำสิ่งต่างๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ รวมทั้งรู้จักริเริ่มลงมือสิ่งๆต่างๆอย่างเป็นขั้น

     🍄EF ที่สำคัญมีทั้งหมด 9 ด้าน คือ
✒1.ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน คือ ทักษะจำหรือเก็บข้อมูลจากประสบการณ์ที่ผ่านมา และดึงมาใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์ที่พบเจอ
✒2.ทักษะการยับยั้งชั่งใจ หรือ คิดไตร่ตรอง คือ ความสามารถในการควบคุมความต้องการของตนเองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
✒3.ทักษะการยืดหยุ่นความคิด คือ ความสามารถในการยืดหยุ่นหรือปรับเปรี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ไม่ยึดติกตายตัว
✒4.ทักษะการใส่ใจจดจ่อ คือ ความสามารถที่ใส่ใจจดจ่อ มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง
✒5.การควบคุมตันเอง คือ ความสามารถในการควบคุมตนเองทางอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
✒6.การประเมินตนเอง คือ การสะท้อนการกระทำของตนเอง รู้จักตนเอง รวมถึงการประเมินการงานเพื่อหาข้อบกพร่อง
✒7.การริเริ่มและลงมือทำ คือ ความสามารถในการริเริ่มและลงมือกระทำตามที่คิด ไม่กลัวความล้มเหลว ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
✒8.การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ คือ ทักษะการทำงาน ตั้งแต่ตั้งเป้าหมาย การวางแผน การมองเห็นภาพ
✒9.การมุ่งเป้าหมาย คือ ความพากเพียงมุ่งสู้เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความอดทนมุ่งมั่น ไม่ว่าจะเจออุปสรรคใดๆ
     🍄เทคนิคในการสร้าง EF คือ
                   🚩ตัวต่อบล็อกไม้
                   🚩เลโก้
                   🚩หมากฮอส
                   🚩จิ๊กซอว์
                   🚩ของเล่นสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม
       อีกเทคนิคที่ทำให้เด็กไม่เครียด คุณพ่อคุณแม่ควรสร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่กดดัน สร้างความเป็นมิตร เมื่อเด็กน้อยรู้สึก HAPPY ก็จะรู้สึกสบายใจ และเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการเล่นของเล่นที่บ้าน เกิดความกล้าคิดทำในสิ่งต่างๆ



     💦กลุ่มที่ 5 นำเสนอนวัตกรรมแบบ EF ( Executive Functions) “เซคบ่าย”💦

       🌷 EFคืออะไร ( Executive Function ) เกี่ยวข้องกับพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างไร เราจะ มีวิธีส่งเสริมพัฒนาการด้านนี้ได้อย่างไร เรามาเรียนรู้พร้อมกันนะคะ E F = ( Executive Function ) คือ การทำงานของสมองด้านการจัดการ ซึ่งมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในชีวิต "ฟังดูน่าสนใจมาก"โดยอาศัยกระบวนทางปัญญา(cognitive process) ต่างๆ เช่น การยับยั้งความคิด การแก้ปัญหา การวางเป้าหมาย การวางแผนไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ( goal - directed behavior) 
       🌷สรุปคือ เป็นความสามารถในการควบคุมความคิดของตนเองนั่นเอง เช่น มีรูปแบบความคิดที่หลากหลาย การคิดนอกกรอบ ความสามารถในการปรับเปลี่ยนความคิดและความสนใจตามสถานการณ์ และการปฏิบัติตามคำสั่งที่ซับซ้อน

     🌷 "มนุษย์เราไม่ได้เกิดมาพร้อมทักษะ EF แต่เราเกิดมาพร้อมศักยภาพที่จะพัฒนาทักษะเหล่านี้ได้ ผ่านการฝึกฝนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การวิจัยจำนวนไม่น้อยชี้ให้เห็นว่า EF เริ่มพัฒนาขึ้นในเวลาไม่นานหลังปฏิสนธิ โดยช่วงวัย 3-6 ขวบ เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการพัฒนาทักษะ EF ด้านต่างๆ ให้กับเด็ก เพราะเป็นช่วงที่สมองส่วนหน้าพัฒนามากที่สุด"
         🌷 และพ่อแม่จะพัฒนาทักษะนี้ให้ลูกอย่างไร รศ.ดร.นวลจันทร์แนะว่า พ่อแม่ยังต้องดูแลเรื่องอาหารการกิน การพักผ่อน ให้ความรักความอุ่นเขาตามปกติ เพราะถ้าเด็กการรับรู้ไม่ดี ประสาทสัมผัสทั้งหลายไม่ดี เขาก็ยากที่จะพัฒนา EF ได้



     💦กลุ่มที่ 3 นำเสนอนวัตกรรมแบบ Project Approach “เซคบ่าย”💦

          🌼การสอนแบบโครงการหรือแบบโครงงาน Project Approach  วงการศึกษาของไทยใช้ชื่อ “การสอนแบบโครงการ”  ในระดับปฐมวัยศึกษาหรือระดับอนุบาลศึกษา  และ  ใช้ชื่อ การสอนแบบโครงงาน  ในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา การสอนดังกล่าวเป็นวิธีการหนึ่งในหลายวิธีที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้โดยการสร้างความรู้ด้วยตนเอง นับเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการปฏิบัติที่เหมาะสมและการเรียนรู้ที่มีความหมายเต็มไปด้วยความกระตือรือร้นของเด็กปฐมวัย
            
          🌼ความหมายของโปรเจคแอพโพส (Project Approach) คือวิธีการสอนรูปแบบหนึ่งที่ได้ให้โอกาสเด็กปฐมวัยเรียนรู้โดยการสืบค้นข้อมูลอย่างลึกในหัวเรื่องที่เด็กสนใจ  มีค่าต่อการเรียนรู้ การสืบค้นอาจทำโดยเด็กกลุ่มเล็ก ๆ หรือเด็กทั้งชั้นร่วมกันหรืออาจเป็นเพียงเด็กคนใดคนหนึ่ง  เพื่อหาคำตอบจากคำถามที่เด็กร่วมกันคิดด้วยกันกับเพื่อนหรือร่วมกันคิดกับครู  และทำให้เกิดกระบวนการสืบค้นขึ้นมา  ทั้งนี้หัวเรื่องที่นำมาสืบค้นมักจะมีความหมายต่อตัวเด็ก เช่น บ้าน รถยนต์  รถเมล์  เครื่องบิน  โรงพยาบาล  เป็นต้น  นอกจากนี้ยังสามารถบูรณาการเข้าในหลักสูตรปฐมวัยได้หลากหลายวิธี  ขึ้นอยู่กับครูและสถานศึกษาที่นำไปใช้  หรือบูรณาการเนื้อหาเกี่ยวกับ คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  รวมทั้งภาษา  ในขณะทำโครงการได้

       🌻🌻การนำแนวคิดการสอนแบบโครงการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน🌻🌻
                ในระดับปฐมวัยศึกษา หรือการสอนแบบโครงการจะปรากฏกิจกรรม  5  ลักษณะประกอบด้วย
👉1.การอภิปราย  ในงานโครงการครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้เด็ก และช่วยให้เด็กแต่ละ
คนมีโอกาสแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนทำกับเพื่อน  การพบปะสนทนากันในกลุ่มย่อย  หรือกลุ่มใหญ่ทั้งชั้นทำให้เด็กมีโอกาสที่จะอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
👉2.การศึกษานอกสถานที่ หรืองานในภาคสนาม  เป็นกระบวนการที่สำคัญของการทำ
โครงการประสบการณ์ในระยะแรกครูอาจพาไปศึกษานอกห้องเรียน  เรียนรู้สิ่งก่อสร้างต่างๆที่อยู่รอบบริเวณโรงเรียนเช่น  ร้านค้า  ถนนหนทาง  ป้ายสัญญาณ  งานบริการต่าง ๆ ฯลฯ จะช่วยให้เด็กเข้าใจโลกที่แวดล้อม  มีโอกาสพบปะกับบุคคลที่มีความรู้เชี่ยวชาญในหัวเรื่องที่เด็กสนใจ  ซึ่งถือเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ขั้นแรกของงานศึกษาค้นคว้า
👉3.การนำเสนอประสบการณ์เดิม  เด็กสามารถทบทวนประสบการณ์เดิมในหัวเรื่องที่
น่าสนใจ มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นในประสบการณ์ที่เหมือนหรือแตกต่างกับเพื่อน รวมทั้งแสดงคำถามที่ต้องการสืบค้นในหัวเรื่องนั้นๆ นอกจากนี้เด็กแต่ละคนสามารถที่จะเสนอประสบการณ์ที่ตนมีให้เพื่อนในชั้นได้รู้ด้วยวิธีการอันหลากหลายเสมือนเป็นการพัฒนาทักษะเบื้องต้น  ไม่ว่าจะเป็นการวาดภาพ การเขียน การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์  การเล่นบทบาทสมมติ  และการก่อสร้างแบบต่าง ๆ
👉4.การสืบค้น  งานโครงการเปิดกว้างให้ใช้แหล่งค้นคว้าข้อมูลอย่างหลากหลายตามหัว
เรื่องที่สนใจเด็กสามารถสัมภาษณ์พ่อแม่  ผู้ปกครองของตนเอง บุคคลในครอบครัว เพื่อนนอกโรงเรียน  สามารถหาคำตอบของตนด้วยการศึกษานอกสถานที่  สัมภาษณ์วิทยากรท้องถิ่นที่มีความรอบรู้ในหัวเรื่อง อาจสำรวจ วิเคราะห์วัตถุสิ่งของตนเอง  เขียนโครงร่าง หรือใช้แว่นขยายส่องดูวัตถุต่าง ๆ หรืออาจใช้หนังสือในชั้นเรียนหรือในห้องสมุดทำการค้นคว้า
 👉5.การจัดแสดง  การจัดแสดงทำได้หลายรูปแบบ อาจใช้ฝาผนังหรือป้ายจัดแสดงงานของ
เด็ก เป็นการแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ที่ได้จากการสืบค้นแก่เพื่อนในชั้น  ครูสามารถให้เด็กในชั้นได้รับทราบความก้าวหน้าในการสืบค้นโดยจัดให้มีการอภิปราย หรือการจัดแสดงทั้งจะเป็นโอกาสให้เด็กและครูได้เล่าเรื่องงานโครงการที่ทำแก่ผู้มาเยี่ยมเยียนโรงเรียนอีกด้วย

     💦กลุ่มที่ 4 นำเสนอนวัตกรรมแบบ STEM Science Technology Engineering 
                          and Mathematics Educaation “เซคเช้า”💦

           🍀เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาที่บูรณาการกลุ่มสาระและทักษะกระบวนการของทั้ง 4 สาระ อันได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยนำลักษณะธรรมชาติของแต่ ละสาระวิชาและกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนมาผสมผสานกันเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่สำคัญและจำเป็น เกิดจากการย่อชื่อตัวอักษรตัวแรกของ 4 สาระเข้าด้วยกัน

           🌺Science(วิทยาศาสตร์) จะเน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (InquiryProcess) ที่จะประกอบด้วยขั้นตอน
 🍁 1. ขั้นการสร้างความสนใจ เป็นขั้นของการนำเข้าสู่บทเรียน 
 🍁 2. ขั้นสำรวจและการค้นหา 
 🍁 3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป  
 🍁 4. ขั้นขยายความรู้ เป็นการนำความรู้มาเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติม 
 🍁 5. ขั้นการประเมิน เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ 

           🌺เทคโนโลยี (Technology) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2557) ระบุขั้นตอนในกระบวนการทางเทคโนโลยีประกอบด้วย 7 ขั้นดังนี้
   🍁 1. กำหนดปัญหาหรือความต้องการ
   🍁 2. รวบรวมข้อมูล โดยอาจจะรวบรวมข้อมูลจากตำรา วารสาร บทความ อินเทอร์เน็ต
   🍁 3. เลือกวิธีการ เป็นการพิจารณาเลือกวิธีที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการแก้ปัญหา
   🍁 4. ออกแบบและปฏิบัติการ
   🍁 5. ทดสอบ เป็นการตรวจสอบว่าชิ้นงานหรือวิธีที่สร้างขึ้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่
   🍁 6. ปรับปรุงแก้ไข เป็นการวิเคราะห์ว่าชิ้นงานหรือวิธีที่สร้างขึ้นจะปรับแก้ไขส่วนใด
   🍁 7. ประเมินผล เป็นการประเมินผลว่าชิ้นงานหรือวิธีที่สร้างขึ้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่
           
         🌺วิศวกรรมศาสตร์(Engineering)  กระบวนการออกแบบของวิศวกรรมศาสตร์ ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
   🍁 1.กำหนดปัญหา หรือความต้องการ
   🍁 2.หาแนวทางการแก้ปัญหา
   🍁 3.ลงมือปฎิบัติเพื่อแก้ปัญหา
   🍁 4.ทดสอบและประเมินผล

           🌺คณิตศาสตร์ (Mathematics)  สำหรับสาระและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์จะ      ครอบคลุมเรื่องจำนวนและกระบวนการ การวัด เรขาคณิต พีชคณิต การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น และ ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

            🍄บทบาทของคณิตศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (STEM) จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหา การคิดเป็นเหตุเป็นผล ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการสื่อสารและการนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้

     💦กลุ่มที่ 6 นำเสนอนวัตกรรมแบบ มอนเตสเซอรี่ Montessori“เซคเช้า”💦

           🌹การสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori) เป็นแนวคิดที่เน้นเด็กเป็นหลักสำคัญในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้อย่างอิสระ และซึมซับการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ทำให้เด็กเกิดความอยากรู้ อยากเห็นและแสวงหาความอยากรู้อย่างมีสมาธิ มีวินัยในตัวเองและเกิดพัฒนาการทุก ๆ ด้านในเวลาเดียวกัน

            🌴การสอนแบบมอนเตสซอรี่🌴

           🌱เริ่มจากการสังเกต ศึกษาพัฒนาการของเด็กของแต่ละคน การสอนแบบมอนเตสซอรี่จะไม่เน้นการเรียนรู้แบบท่องจำ แต่จะเน้นการเล่นหรือการทำกิจกรรมเป็นหลัก โดยการให้เด็กได้เลือกทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่ตัวเองสนใจ มอนเตสซอรี่ได้จัดทำอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายตามความสนใจและตามวุฒิภาวะของเด็กที่แตกต่างกัน ซึ่งจะช่วยพัฒนาทางด้านประสบการณ์ชีวิต งานวิชาการ และทางประสาทสัมผัส เช่น การแต่งกาย การทำความสะอาด การขัดและอุปกรณ์ในการทำงานบ้าน สำหรับอุปกรณ์จะมีการออกแบบให้เด็กได้พัฒนาสติปัญญา และพัฒนาการคิดอย่างมีระบบมีเหตุผล เช่น อุปกรณ์ทางคณิตศาสตร์ อุปกรณ์ทางภาษาและหลักภาษา การมองเห็น การชิมรส การได้ยิน การดมกลิ่น เป็นความรู้สึกที่ใช้ประสาทสัมผัสร่วมกัน

            🌴แนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่🌴

           🌱จะเริ่มจากการเรียนรู้แบบรูปธรรมไปสู่แบบนามธรรม และอุปกรณ์ของมอนเตสซอรี่สามารถนำมาใช้ได้หลายรูปแบบ อุปกรณ์เป็นสิ่งที่ช่วยควบคุมตัวเด็กในการทำงาน เด็กจะพอใจเมื่อทำงานต่าง ๆ ได้ถูกต้อง และในการจัดเก็บอุปกรณ์จะต้องมีที่เฉพาะสำหรับวางอุปกรณ์ เพื่อที่เด็กจะได้จัดเก็บอุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อย เมื่อเล่นเสร็จแล้วซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เด็กรู้จักการเรียนรู้การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน

            🌴หลักการสอนของมอนเตสซอรี่🌴

           🌱เด็กได้รับการยอมรับนับถือ เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน เด็กจึงควรได้รับการยอมรับในลักษณะเฉพาะของตัวเอง คุณครูควรจัดกิจกรรมพัฒนาให้เด็กแต่ละคนตามความสามารถ และพัฒนาการความต้องการตามธรรมชาติของเด็กในแต่ละช่วงวัย
                  🌰จิตซึมซับ เด็กมีจิตแห่งการหาความรู้ที่เปรียบเสมือนฟองน้ำ โดยเด็กจะซึมซับเอาข้อมูลต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมเข้าไปในจิตของตัวเองช่วงเวลาหลักของชีวิต เด็กแรกเกิดจนถึง 6 ปี เป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของการพัฒนาด้านสติปัญญาและจิตใจ ในช่วงเวลานี้ เด็กควรมีอิสระในการเลือกกิจกรรมที่ตัวเองสนใจ

                  🌰การเตรียมสิ่งแวดล้อม เด็กจะได้รับการพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด จากการจัดสภาพแวดล้อมที่มีความพร้อมอย่างมีระบบและมีจุดมุ่งหมายไปตามขั้นตอน โดยมีสื่ออุปกรณ์มอนเตสซอรี่เป็นตัวกำหนดขอบเขตในการทำงาน

                  🌰การศึกษาด้วยตัวเอง เด็กได้รู้จักเรียนรู้ระเบียบวินัยของการอยู่ร่วมกันภายในสังคม และมีอิสระในการทำงาน รู้จักเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เรียนรู้ที่จะรับผิดชอบ และมีความภาคภูมิใจต่อความสำเร็จในการทำงาน จนทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและเห็นคุณค่าในตัวเอง

                  🌰การวัดประเมินผล คุณครูในชั้นเรียนจะเป็นผู้ประเมินผล โดยใช้วิธีการสังเกตและวิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคล ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง ซึ่งครูผู้มีประสบการณ์และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการศึกษาแบบมอนเตสซอรี่ จะมีความเชี่ยวชาญในการสังเกต จดบันทึก และวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้เรียน


🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻


Assessment การประเมินผล
     Self          : วันนี้เข้าเรียนตรงเวลาร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อน
     Friend     : เพื่อนๆช่วยกันนร่วมทำกิจกรรม
     Teacher  : มีการสอดแทรกเกี่ยวกับข้อเพิ่มเติมในการสอน



วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2562


DIARY NO. 6

Tuesday 18 Sptember 2019





Knowledge summar สรุปความรู้
     วันนี้นำเสนอเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษาที่ได้รับมอบหมายในแต่ละกลุ่ม โดยวันนี้มีการนำเสนอ 4 กลุ่ม
             👉กลุ่มที่ 1 นำเสนอนวัตกรรมแบบ ไฮสโคป ( High Scope ) เซคเช้า
             👉กลุ่มที่ 2 นำเสนอนวัตกรรมแบบ ไฮสโคป ( High Scope ) เซคบ่าย
             👉กลุ่มที่ 3 นำเสนอนวัตกรรมแบบ โปรเจค เซคเช้า
             👉กลุ่มที่ 4 นำเสนอนวัตกรรมแบบ STEM “เซคเช้า

💦กลุ่มที่ 1 นำเสนอนวัตกรรมแบบ ไฮสโคป ( High Scope ) เซคเช้า

นักทฤษฎีของไฮสโคปคือ ดร.เดวิส ไวคาร์ท องค์ประกอบของไฮสโคป คือ 
     1.เปิดโอกาสให้เด็กเลือกและตัดสินใจ 
     2.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้หลากหลาย 
     3. พื้นที่เวลาและเวลา 
     4. เน้นให้เด็กใช้ประสาทสัมผัส 
     5. ภาษาจากเด็กเป็นสิ่งที่สะท้อนความคิดของเด็ก 
     6. ครูเป็นแค่ผู้ชี้แนะและรับฟัง

💓💓หัวใขของไฮสโคป💓💓 คือ Plan Do Review วางแผน ปฏิบัติ ทบทวน  

💦กลุ่มที่ 2 นำเสนอนวัตกรรมแบบ ไฮสโคป ( High Scope ) เซคบ่าย

คุณค่าของไฮสโคป คือ ครูต้องรู้จักพัฒนาการเด็ก เข้าใจหัวใจการเรียนรู้ของเด็ก ครูต้องเข้าใจในการออกแบบการจัดประสบการณ์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้จริง ไม่ได้เน้นเนื้อหา เน้นผลงานการเขียน อ่าน ศิลปะ ได้บรรจุหลักการ 5 ข้อ ไว้ในรูปวงล้อ ที่เรารู้จักกัน วงล้อแห่งการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ ประสบการณ์ที่ริเริ่ม
      🌈1.      พื้นที่สื่อ การเก็บ หรือ การจัดสิ่งแวดล้อม
ต้องเชื่อก่อนว่า การศึกษาของเด็กเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม ครูที่ 3 และจัดพื้นที่ในห้องเรียนเป็น 5 ส่วน เริ่มจาก 
1  พื้นที่ไว้ของส่วนตัว 
2  พื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมกลุ่มใหญ่ ย่อย 
3  พื้นที่ตามมุม ในไฮสโคปมีมุมไม่ต่ำกว่า 5 มุม คือ หนังสือ , บล็อก , ศิลปะ , ของเล่น , บทบาทสมมติ 4  พื้นที่ครู 
5  พื้นที่ติดผลงานเด็ก เน้นย้ำว่า เราควรติดงานเด็กในระดับสายตาของเด็ก
      🌈2.      กลยุทธ์ปฏิสัมพันธ์การกระตุ้น ส่งเสริมแก้ปัญหา หรือ ปฏิสัมพันธระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก
เน้นปฏิสัมพันธ์ที่ดี เริ่มจากการไว้ใจ วางใจ ครูต้องสร้างความไว้ใจให้เด็ก การยิ้ม การเป็นมิตร การสบสายตา การพูด
     🌈3.      กลยุทธ์ปฏิสัมพันธ์การกระทำ ส่งเสริม แก้ปัญหา หรือ กิจวัตรประจำวัน
วางแผน , ปฏิบัติ , ทบทวน plan , do , review
วางแผน คือ วางแผน กลุ่มใหญ่ ย่อย ไฮสโคปอยากให้เด็กเชื่อมั่นในตนโดยไม่เปลี่ยนแผน ครูต้องติดตามกำกับดูแล สำคัญครูต้องต่อเติมภาษาของเด็กให้ดีด้วยการลงมือกระทำด้วย
ปฏิบัติ คือ ใช้เวลา 30 40 นาที  
ทบทวน คือ สิ่งสำคัญคือ เด็กได้นำเสนอความคิดว่า ตรงตามวางแผนไหม มีอุปสรรค์อะไร และยังมีการตั้งคำถาระหว่างเด็กกับเพื่อนอีก ทำให้เด็กกล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็น
      🌈4.      คณะทำงานบันทึกประจำวัน วางแผนกิจวัตรประจำวัน ประเมินพัฒนาการหรือ การประเมิน

🌟บทบาทสมมติ🌟 
            ยกตัวอย่างกลยุทธ์ปฏิสัมพันธ์การกระทำ ส่งเสริม แก้ปัญหา หรือ กิจวัตรประจำวัน หรือ วางแผน plan  ปฏิบัติ do ทบทวน review โดยเริ่มจากแบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม แล้วนั่งพูดคุยกับคุณครูในกลุ่มว่า จะเริ่มทำกิจกรรมใดก่อน และนำสัญลักษณ์ของตัวเองไปติด โดยจะมีทั้งหมด 4 กิจกรรม หลังจากวางแผนเสร็จ ให้เริ่มทำกิจกรรม เมื่อเด็กทำกิจกรรมใดเสร็จก็ไปดึงสัญลักษณ์ของตัวเองออก และเริ่มทำกิจกรรมใหม่ได้ หลังจากทำกิจกรรมเสร็จครูให้กลับมานั่งที่เดิม และพูดสนทนาว่า สิ่งที่ทำไปนั้นถูกต้องหรือผิดพลาดอย่างไร และมีการสนทนาระหว่าง ตัวเองกับครู ตัวเองกับเพื่อน ทำให้เด็กได้รู้จักการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

💦กลุ่มที่ 3 นำเสนอนวัตกรรมแบบ โปรเจค เซคเช้า
วิธีการสอนรูปแบบหนึ่งที่ได้ให้โอกาสเด็กปฐมวัยเรียนรู้โดยการสืบค้นข้อมูลอย่างลึกในหัวเรื่องที่เด็กสนใจ มีค่าต่อการเรียนรู้ เพื่อหาคำตอบจากคำถามที่เด็กร่วมกันคิดด้วยกับเพื่อนหรือร่วมกับครู และทำให้เกิดกระบวนการคิดสืบค้นขึ้นมา และยังบูรณาการเนื้อหาเกี่ยวกับ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ รวมทั้ง ภาษา
🌟บทบาทสมมติ🌟
            เริ่มจาก ถามเด็กอยากเรียนรู้เรื่องอะไร และเลือกมา1เรื่องที่เด็กสนในมากที่สุด และเรื่องอื่นๆที่เด็กสนใจก็สามารถจัดมุมให้ความรู้ให้เด็กด้วย และเด็กทุกคนก็เล่าประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับเรื่องนั้น และให้เด็กถ่ายทอดออกมาด้วยวิธีการวาดภาพเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กพูด และช่วยกันตั้งคำถามที่เด็กอยากรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ต่อมาก็รวมกันหาคำตอบที่เกี่ยวกับคำถาม และถ่ายทอดออกมา และออกแบบกิจกรรมที่จะทำ เช่น ทำอาหาร ไปทัศนศึกษา และสรุปท้ายก็ประเมินสารนิทัศน์สะท้อนตัวเอง ผู้ปกครอง ครู

💦กลุ่มที่ 4 นำเสนอนวัตกรรมแบบ STEM “เซคเช้า
การสอนสะเต็มศึกษาคือ การสอนบูรณาการขเมกลุ่มสาระวิชา ระหว่างศาสตร์ต่างๆ โดยกลุ่มสาระดังนี้ วิทยาศาสตร์ Science : S  
เทคโนโลยี Technology : T 
วิศวกรรมศาสตร์ Engineer : E 
คณิตศาสตร์ Mathematics : M 
      โดยนำจุดเด่นของธรรมชาติ ตลอดจนวิธีการสอนของแต่ละสาขาวิชาผสมผสานกันอย่างลงตัว เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทุกแขนงมาใช้แก้ปัญหา


Assessment การประเมินผล

     Self          : วันนี้เข้าเรียนตรงเวลาร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อน
     Friend     : เพื่อนๆช่วยกันนร่วมทำกิจกรรม

     Teacher  : มีการสอดแทรกเกี่ยวกับข้อเพิ่มเติมในการสอน